เตรียมบ้านให้พร้อมรับมือน้ำท่วม กับหน้าฝนที่กำลังจะมาถึง

Pattareeya Pattareeya
Baan Kong ( Grandfather’s house), บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด Balcone, Veranda & Terrazza in stile rurale Legno Effetto legno
Loading admin actions …

ถึงแม้เราจะพบกับฤดูฝนกันอยู่ทุกปี ปีละหลายเดือนตามประสาประเทศเขตร้อนชื้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทำใจไม่ให้กังวลถึงไม่ได้สักที นั่นคือ 'น้ำท่วม' แม้น้ำจะมาแล้วไป แต่เมื่อนึกถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านระหว่างน้ำท่วมแล้วก็ชวนปวดหัวทุกครั้ง ไหนจะการซ่อมแซมหลังน้ำท่วมอีกล่ะ 

เอาเป็นว่าในไอเดียบุคนี้ homify ขอนำข้อควรรู้เกี่ยวสำหรับเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมมาฝากกันดีกว่า หากเตรียมพร้อมไว้ก่อน เมื่อน้ำท่วมจริงก็จะช่วยให้บ้านไม่เสียหายและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก เพราะหลังน้ำท่วม สิ่งของหลายอย่างมักจะมีราคาสูง หรือหาซื้อยาก ในทางตรงกันข้าม แม้น้ำไม่ท่วม ก็ถือว่าได้จัดระเบียบบ้านไปในตัว เป็นข้อดีอีกแง่หนึ่ง

1. ตรวจบ้านหารอยร้าวและรูรั่ว

น้ำท่วมบ้านไม่ได้เกิดจากน้ำที่ไหลบ่ามาเท่านั้น แต่หลายครั้งน้ำที่ขึ้นมาจากท่อ จากพื้นที่รั่วแตก ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้น้ำเข้าบ้าน นอกจากการตรวจสอบหลังคาและรางน้ำฝน รวมถึงฝ้าเพดาน เพื่อหารอยรั่วเป็นประจำแล้ว จึงควรตรวจกรอบบ้านรวมถึงพื้นส่วนอื่นๆ ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดคิดหากเกิดน้ำท่วม

บ้านรั่วบ้านร้าว ตรวจดูและซ่อมเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่กับ 8 วิธีตรวจดูบ้านรั่วบ้านร้าว ซ่อมได้ไม่ยากด้วยมือเรา

2. ถ้าเป็นไปได้ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ควรตั้งอยู่ที่พื้นหากบ้านคุณมีปัญหาน้ำท่วมบ่อย

White Miele Appliances Hehku Cucina moderna Elettronica

โดยปกติเราควรติดตั้งสายไฟ เต้ารับและสวิตช์ไฟให้สูงจากพื้นอยู่แล้วเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก แต่สำหรับบ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึงบ่อย นอกจากการเดินสายไฟ เต้ารับ และสวิตซ์ต่างๆ แล้ว ยังไม่ควรตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เรียบไปกับพื้นบ้านด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องห่วงมาเคลื่อนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าบ่อยๆ แม้น้ำจะเข้าบ้านเพียงเล็กน้อยก็ตาม

3. อย่าลืมปลั๊กไฟ สับสวิตช์เมื่อน้ำมา

เตรียมการเรื่องตำแหน่งของเต้าเสียบ ปลั๊กไฟ และสวิตช์กันไปแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรลืมเมื่อน้ำมา คือต้องไม่ลืมสับสวิตช์ตัดไฟในบ้านส่วนที่น้ำจะท่วมถึงด้วย ป้องกันปัญหากระแสไฟรั่วลงไปในน้ำแล้วทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

4. เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อม

HandschuhBox HBK | Flurkommode, Vanpey Vanpey Ingresso, Corridoio & Scale in stile minimalista Cassettiere & Scaffali

ในประเทศที่ต้องเจอกับภัยธรรมชาติบ่อยๆ เช่นประเทศญี่ปุ่นซึ่งเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ผู้คนมักมีกระเป๋าสำหรับเตรียมอพยพไว้ในบ้านในจุดที่หยิบง่าย หรือในรถ โดยข้างในจะมีอุปกรณ์สำหรับหลบภัยได้ 2-3 วัน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา เสื้อผ้า เครื่องมือจำพวกเชือก ไฟฉาย ไม้ขีดและไฟแช็ก หมวกกันน็อก ห้องน้ำพกพา และอื่นๆ ที่จำเป็น รวมถึงเอกสารสำคัญและเงินสด 

แต่สำหรับกรณีน้ำท่วมในบ้านเราอาจไม่ต้องเตรียมตัวถึงขั้นนั้น แค่มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นไว้บางอย่างก็น่าจะช่วยได้ ทั้งของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น อุปกรณ์เครื่องมือที่ต้องใช้หากไฟดับ หรือต้องซ่อมแซมบ้านบางจุดกะทันหันระหว่างน้ำท่วม ที่สำคัญคือต้องวางไว้ในจุดที่น้ำท่วมไม่ถึง และหยิบใช้ง่ายนั่นเอง

5. เก็บตุนของแห้ง อาหาร ข้าวสาร หากไปซื้อตอนที่เกิดน้ำท่วม ราคาก็จะแพง

หนึ่งในของสำคัญที่ต้องเตรียมไว้ให้พร้อมคือ อาหาร น้ำสะอาด และยารักษาโรค ซึ่งโดยปกติ บ้านส่วนใหญ่ก็จะมีของแห้งเหล่านี้เก็บไว้อยู่แล้ว โดยควรจัดเก็บไว้ในตู้ให้เป็นระเบียบ อาจเป็นตู้เก็บของในห้องครัวตามปกติหรือตู้อื่นๆ แต่ต้องเป็นที่แห้งในครัวที่ปราศจากแมลงรบกวน หากน้ำท่วมขึ้นมาจริงๆ ก็จะมีของแห้งใช้ ไม่ต้องไปซื้อหาของราคาแพงตอนน้ำท่วมให้ลำบาก

6. เมื่อน้ำมา อย่าลืมตรวจสอบชารจ์แบตสำรองที่มีให้เต็มทุกตัว

เมื่อน้ำมา เราไม่รู้ว่าจะมีไฟฟ้าใช้ถึงเมื่อไหร่ ยิ่งเป็นส่วนของบ้านที่โดนน้ำท่วมยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะต้องตัดไฟเพื่อความปลอดภัยอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้การมีแบตเตอรีสำรองไว้จะช่วยได้ในยามฉุกเฉิน ที่สำคัญคืออย่าลืมตรวจสอบ ชารจ์แบตสำรองที่มีอยู่ให้เต็มทุกตัว จะได้ไม่พลาดการติดต่อในยามจำเป็น

Hai bisogno di aiuto con il progetto della tua casa?
Contattaci!

Articoli più recenti